ธุรกิจส่งออก เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และน่าลงทุนอีกธุรกิจหนึ่ง ซึ่งธุรกิจส่งออกจะโตได้อีกมาก คือ กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะประเทศเหล่านี้มักจะนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเข้าไปเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้รูปแบบของธุรกิจส่งออกจะประกอบไปด้วย
– บริการขนส่ง หรือ Shipping ธุรกิจนี้จึงมักจะใช้เงินลงทุนที่ไม่สูงและธุรกิจนี้ ส่วนใหญ่มักจะเคยอยู่กับบริษัท Shipping มาก่อน และดึงลูกค้าจากที่ทำงานเก่ามาให้ใช้บริการกับตน
– ธุรกิจส่งออกทั่วไป คือ ธุรกิจที่มีการผลิตสินค้าของตัวเอง หรือรับสินค้ามาจากบริษัทอื่น และอาศัยสายสัมพันธ์ กับบริษัทต่างชาติ ในการขายสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ
– ธุรกิจส่งออกผ่าน Internet เป็นรูปแบบใหม่ ซึ่งก็เป็นธุรกิจ Internet รูปแบบหนึ่ง แต่เน้นไปที่ลูกค้าต่างประเทศ ที่มีกำลังซื้อสูงกว่าประเทศไทย และต้องทำ Website เป็นภาษาอังกฤษ หรือนำสินค้าไปขายใน Marketplace ต่างๆ
สำหรับจุดเด่นของธุรกิจส่งออก ประกอบไปด้วย
1.ลูกค้าที่ได้เป็นลูกค้าระยะยาว คือ ลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการแล้วพึงพอใจกับสินค้า บริการ และเครดิตการค้าที่มอบให้ เค้าจะเป็นลูกค้าระยะยาว
2.คุยกับธนาคารง่าย คือ เมื่อมีสินทรัพย์อยู่ในมือที่รับมาจากลูกค้า ทำให้สามารถหาเงินทุนหมุนเวียน จากธนาคารได้ง่ายและสามารถกู้เงินสะดวก สามารถเอาสัญญามาเป็นตัวค้ำประกันได้
3.ได้ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นทำเล และแรงงานที่มีฝีมือ
4.ไม่ต้องใช้เงินมากกับการหาทำเล เพราะสามารถเปิดที่ไหนก็ได้ ยิ่งค่าเช่าถูกยิ่งดีเพราะว่าจะได้ไปลดราคาให้กับลูกค้าได้อีก
5.โฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ไม่ต้องทำ เพราะธุรกิจส่งออกนั้น วัดกันที่การเจรจาธุรกิจล้วนๆ ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน เพื่อจ้างนักการตลาดมือทอง มาร่วมงาน
จะเห็นได้ว่าธุรกิจส่งออกไม่ได้เป็นเพียงแค่การนำสินค้าไปขายในระดับสากลเท่านั้น บางคนอาจจะเชี่ยวชาญการขายสินค้าในประเทศ แต่พอมาเริ่มธุรกิจส่งออกแล้วอาจจะพบว่ามันเหมือนเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรที่จะเตรียมตัวให้พร้อมไว้สำหรับการร่วมธุรกิจใหม่นี้ เพื่อที่จะสามารถดำเนินการทำธุรกิจเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
ประเทศไทยกับการเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออก
ธุรกิจการส่งออกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศ เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ธุรกิจส่งออกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถทดแทนการขาดดุลทางการค้าและส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศ มีความสนใจในการทำการค้าการส่งออกมากยิ่งขึ้น
การส่งออกในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ใน การทำธุรกิจมากยิ่งขึ้นทำให้สามารถทำการค้ากับต่างประเทศด้วยความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการทำธุรกิจส่งออกเป็นการทำการค้ากับนานาประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกจะ ศึกษาหาข้อมูลเพราะว่าเป็นธุรกิจที่กระบวนการที่มีขั้นตอน และรายละเอียดมาก ผู้ประกอบการควรจะมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นก่อนเพื่อให้การทำธุรกิจประสบความสำเร็จด้วยดี
การเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออก
ผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจส่งออกควรสนใจศึกษาปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของธุรกิจส่งออกดังนี้
– การเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนเพราะในการลงทุนทำธุรกิจจะต้องมีความพร้อมในด้านงบประมาณ
– การลงทุนและงบประมาณหมุนเวียนโดยเฉพาะในช่วงแรก
– เลือกผลิตสินค้าที่กิจการตนเองมีความชำนาญ และเน้นคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ โดยอาจขอคำแนะปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดศึกษาแนวโน้มของตลาดรวมทั้งแนวโน้มการส่งออก ตลอดทั้งวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ ซึ่งความต้องการสินค้าของผู้บริโภคจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
– ศึกษาคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาดเพื่อสร้างความแตกต่าง และ ความโดดเด่น ของสินค้าและกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าชนิดเดียวกันที่มีผู้ขายหลายรายในตลาดนั้น
– ศึกษากฎระเบียบการส่งออกสินค้าของไทย การนำเข้าของต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อขจัดความยุ่งยากในการทำธุรกิจส่งออกเช่น อัตราภาษีส่งออกนำเข้า การจำกัดโควตาสินค้าส่งออกนำเข้า ใบอนุญาตการนำเข้าสินค้าบางประเภทเช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
– ด้านบุคลากร การจัดหาพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมกับ ตำแหน่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น และจำนวนของพนักงานก็ควรเพียงพอกับปริมาณงาน
ผู้ส่งออกมีความเข้าใจและรู้จักแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเช่น ปัญหาจาการผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่ง
การเขียนแผนธุรกิจช่วยกำหนดทิศทางด้านธุรกิจสำหรับผู้ส่งออกรุ่นใหม่
ในการเขียนแผนธุรกิจช่วยกำหนดทิศทางในการดำเนินธุรกิจนั้น เป็นการวางแผนในการเดินทางว่าจะเดินทางไปในทิศทางใด ซึ่งการเขียนแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกนอกจากจะช่วยกำหนดทิศทางและแนวทางในการดำเนินธุรกิจส่งออกแล้วยังเป็นเอกสารที่สำคัญในการแสดงให้ผู้ร่วมทุนเข้าใจและเห็นแนวทางในการสร้างผลกำไรหรือผลตอบแทน หรือใช้เป็นเอกสารในการขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆอีกด้วย เมื่อเห็นความสำคัญของการวางแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกแล้ว จะต้องศึกษาลักษณะของแผนธุรกิจและกลยุทธ์ในการเขียนแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกโดยทั่วไปแผนธุรกิจประกอบด้วย บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ที่สรุปแนวคิดการดำเนินธุรกิจ ปริมาณเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ผู้ร่วมทุน และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แนวทางในการดำเนินการตลาด และการผลิตที่จะนำมาซึ่งผลตอบแทน ทั้งนี้แผนธุรกิจที่ดีควรมีการระบุให้ชัดเจนในเรื่องของแผนการตลาดการผลิตการจัดการ การเงิน และการดำเนินการ รวมทั้งแผนสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน อย่างเช่น ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อเพราะสินค้าไม่ได้มาตราฐาน วัตถุดิบขาดแคลน สำหรับผู้ประกอบการส่งออกควรคำนึงถึงในการวางแผนธุรกิจที่แปรปรวนตลอดเวลาอีกทั้งกฏระเบียบ ข้อห้าม หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆและจะต้องศึกษาแนวทางในการหาคู่ค้ารายใหม่ๆพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจส่งออก
ดังนั้นการวางแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ส่งออกเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน ที่สามารถช่วยกำหนดทิศทางและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกิจการได้ที่วางไว้เป็นอย่างดี นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ส่งออกแล้วยังใช้เป็นเอกสารในการสืบทอดธุรกิจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจการได้ด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นการวางแผนที่ดีควรชัดเจนและเปลี่ยนแปลงบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ที่จะปฏิบัติตามแผนสับสนและไม่เชื่อมั่นในประสิทธิผลของแผนที่วางไว้ ฉะนั้นผู้ส่งออกรุ่นใหม่ควรคิดค้นคว้าศึกษาให้รอบครอบในการวางแผนเพียงเท่านี้ก็จะเป็นผู้ส่งออกที่ประสบความสำเร็จแบบยั่งยืนได้ จะเห็นได้ว่าธุรกิจส่งออกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ แต่จะต้องศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบเพื่อจะได้วางแผนและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าไปได้
ทิศทางของตลาดการส่งออกของไทย
การส่งออก ความหมายคือ การเคลื่อนย้ายสินค้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การส่งออกที่ดีจะจะต้องช่วยลดต้นทุนของธุรกิจลงได้ โดยอาจจะเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าแรงงาน หรือค่าบำรุงรักษารถบรรทุก และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บริษัทขนส่งอาจตั้งเป้าหมายว่าเมื่อมีการจัดการการขนส่งที่ดีด้วยจำนวนทรัพยากรที่เท่าเดิม ประสิทธิภาพการทำงานจะสูงขึ้น
การส่งออกที่ดีจะสามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ผลิตภัณฑ์ของตนก็จะออกสู่ตลาดได้เร็วและแพร่หลายมากกว่าคู่แข่งขัน สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้แก่บริษัท ไม่ว่าจะเป็นจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อแลกกับบริการที่รวดเร็วขึ้น พิเศษขึ้นหรือละเอียดถูกต้องมากขึ้น หรือรายได้จากกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เข้ามาใช้บริการ
การส่งออกทางอากาศเป็นรูปแบบการส่งออกที่ไปได้ไกลที่สุดและรวดเร็วที่สุด แต่มีต้นทุนต่อหน่วยแพงที่สุด จำเป็นต้องก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคจำนวนมหาศาลเพื่อรองรับรูปแบบการส่งออกทางอากาศทั้งระบบ อีกทั้งต้องอาศัยระบบขนส่งสินค้าทางถนนเพื่อให้สินค้าไปถึงลูกค้าที่ปลายทางตามพื้นที่ต่างๆ ได้
รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านการส่งออก ผู้ประกอบการส่งออกทุกรายสามารถใช้งานงถนน รางรถไฟ ท่าเรือ สนามบินและท่อ ได้ค่อนข้างอิสระและเท่าเทียมกัน ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายความสามารถอย่างมากของบริษัทการส่งออกทั้งหลาย คือ ทำอย่างไรจึงจะหาประโยชน์จากสาธารณูปโภคฟรีๆ เหล่านี้ให้ได้เหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการที่จะสามารถออกแบบและคิดค้นนวัตกรรมด้านการส่งออกให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองได้หรือไม่ ในทางทฤษฎีนั้น มีการคิดค้นรูปแบบการสร้างโครงข่ายการส่งออกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากมาย
จากที่กล่าวมาข้างต้นรูปแบบการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น รางรถไฟ ท่าเรือ สนามบินและท่อ ไม่ได้มีเฉพาะการส่งออกทางถนนโดยรถเท่านั้น อีกทั้งรัฐบาลยังให้การสนับสนุนทางด้านนี้มากขึ้น ทำให้มีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และทางด้านบริษัทเอกชนเริ่มกันมาพัฒนาจึงทำให้ธุรกิจมีความพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งต่างชาติ ซึ่งเป็นกรณีที่น่าสนใจในการศึกษาว่าธุรกิจด้านการส่งออกของไทยจะเป็นไปในรูปแบบใด
ธุรกิจการส่งออกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างหนึ่ง
ธุรกิจการส่งออกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศ เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ธุรกิจส่งออกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถทดแทนการขาดดุลทางการค้าและส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศ มีความสนใจในการทำการค้าการส่งออกมากยิ่งขึ้นการส่งออกในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ใน การทำธุรกิจมากยิ่งขึ้นทำให้สามารถทำการค้ากับต่างประเทศด้วยความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการทำธุรกิจส่งออกเป็นการทำการค้ากับนานาประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกจะ ศึกษาหาข้อมูลเพราะว่าเป็นธุรกิจที่กระบวนการที่มีขั้นตอน และรายละเอียดมาก ผู้ประกอบการควรจะมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นก่อนเพื่อให้การทำธุรกิจประสบความสำเร็จด้วยดี การเตรียมตัวเป็นผู้ส่งออกผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจส่งออกควรสนใจศึกษาปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของธุรกิจส่งออกดังนี้ การเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนเพราะในการลงทุนทำธุรกิจจะต้องมีความพร้อมในด้านงบประมาณ การลงทุนและงบประมาณหมุนเวียนโดยเฉพาะในช่วงแรก
เลือกผลิตสินค้าที่กิจการตนเองมีความชำนาญ และเน้นคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ โดยอาจขอคำแนะปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดศึกษาแนวโน้มของตลาดรวมทั้งแนวโน้มการส่งออก ตลอดทั้งวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ ซึ่งความต้องการสินค้าของผู้บริโภคจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศศึกษาคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาดเพื่อสร้างความแตกต่าง และ ความโดดเด่น ของสินค้าและกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าชนิดเดียวกันที่มีผู้ขายหลายรายในตลาดนั้นศึกษากฎระเบียบการส่งออกสินค้าของไทย การนำเข้าของต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อขจัดความยุ่งยากในการทำธุรกิจส่งออกเช่น อัตราภาษีส่งออกนำเข้า การจำกัดโควตาสินค้าส่งออกนำเข้า ใบอนุญาตการนำเข้าสินค้าบางประเภทเช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มด้านบุคลากร การจัดหาพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมกับ ตำแหน่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น และจำนวนของพนักงานก็ควรเพียงพอกับปริมาณงานผู้ส่งออกมีความเข้าใจและรู้จักแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเช่น ปัญหาจาการผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่ง
การขนส่งด้วยระบบ Logistic เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาท มีส่วนช่วยในการผลักดันสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ให้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำธุรกิจที่ทลายเส้นพรมแดนทั่วโลกอย่างสิ้นเชิงอย่างกระแสยุคโลกาภิวัตน์หรือ Globalization ที่ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไม่ไร้ขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความสะดวกสบายขึ้น
การขนส่งระบบ Logistic เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วงที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง และจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกในอนาคต เพราะว่าการขนส่งสามารถตอบสนองความต้องการของคู่ค้าได้เป็นอย่างดีในเรื่องการขนส่งทางระบบที่ได้มาตรฐาน โดยระบบการขนส่ง Logistic เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรศึกษา และนำมาปรับใช้กับธุรกิจ
ระบบ Logistic ไม่เพียงแต่เป็นการขนส่งจากต้นทางไปยังปลายทางเท่านั้น ระบบ Logistic มีความหมายมากกว่านั้น ซึ่งรวมไปถึงการจัดการระบบ การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดแต่ใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ
ระบบ Logistic สามารถทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทเพิ่มขึ้น เพราะจะช่วยในการกระจายสินค้า เรื่องของการขนย้าย การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในสายงานและการผลิต การบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีระเบียบแบบแผน เพราะ Logistic นอกจากจะจัดระเบียบธุรกิจแล้วยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้ด้วย
ด้วยธุรกิจที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีการช่วงชิงฐานลูกค้าระหว่างกันที่สูงมาก จึงทำให้ธุรกิจที่นำระบบ Logistic เข้ามาใช้เป็นธุรกิจที่มีความได้เปรียบกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะระบบ Logistic ถูกออกแบบมาให้เข้าถึงลูกค้าได้ไวขึ้นในทั่วโลกไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องการขนส่งเท่านั้น อีกทั้งยังขยายวงกว้างไม่ได้จำกัดพื้นที่เพียงแห่งเดียว
ระบบ Logistic สามารถแบ่งเบาภาระต้นทุนได้มาก เพราะระบบจะเข้ามาดูและการเคลื่อนย้ายสินค้ารวมถึงดูแลคลังสินค้าของผู้ประกอบการด้วย โดยเป้าหมายคือลดต้นทุนให้ได้มากที่สุดแต่ประสิทธิภาพต่างๆยังคงอยู่ ระบบ Logistic ช่วยให้ขนส่งในแต่ละเที่ยวได้มากขึ้น แต่กลับทำให้กำไรสูงตามไปด้วย
การขนส่งด้วยระบบ Logistic เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรศึกษา และให้ความสนใจ เพื่อนำมาปรับใช้ในธุรกิจของตน ซึ่งผู้ประกอบการที่ขาดในส่วนนี้ จะทำให้ต้นทุนเสียไปกับค่าขนส่งเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นด้าน Logistic จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
การส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด
การทำธุรกิจไปยังต่างประเทศเป็นการต่อยอดธุรกิจที่น่าสนใจ และนับได้ว่าสูงสุดสำหรับนักธุรกิจไทยที่สามารถนำสินค้าของตนไปขายยังต่างประเทศได้ แต่การส่งออกสินค้ายังมีข้อแตกต่างกับการขายสินค้าในประเทศ ทั้งเรื่องวัฒนธรรม ค่านิยม และเรื่องของกฎหมายรวมทั้งระบบภาษี จึงเป็นเรื่องที่ยากในการทำธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในต่างประเทศซึ่งในการที่จะทำธุรกิจในด้านส่งออกสอนค้านั้นผู้ประกอบธุรกิจไทยจำเป็นต้องรู้พฤติกรรมของชาวต่างชาติว่าต้องการอะไร อาจจะหาสินค้าที่หายาก หรือคุณภาพสู้สินค้าของไทยไม่ได้และเพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำเร็จและมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้นผู้ประกอบการที่จะ เข้ามาในธุรกิจนี้ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อน โดยมีขั้นตอนการส่งออกมีดังนี้
1.การจดทะเบียนพาณิชย์
2.การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
4. การเตรียมสินค้า
5. ติดต่อขนส่ง
6.จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
7. ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร
8. การส่งมอบสินค้า
9. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
10. การขอรับสิทธิประโยชน์
เมื่อผู้ซื้อในต่างประเทศได้รู้จักสินค้าและให้ความสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องของราคา ปริมาณ ผู้ขายสินค้าและจะต้องยื่นข้อเสนอราคาที่เหมาะสมและเวลาในการจัดส่ง เพราะหากผู้ซื้อพอใจในสินค้าและราคาแล้ว ก็จะเกิดการสั่งซื้อด้วยการออกใบสั่งซื้อสินค้าเพื่อให้ผู้ขายออกใบแจ้งหนี้ไปยังผู้สั่งซื้อ ทั้งนี้เมื่อเตรียมเอกสารประกอบการส่งออกครบแล้วก็สามารถทำใบขนสินค้าขาออก ใบกำกับการขนย้ายเพื่อบรรจุสินค้าขึ้นเรือ
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการบุกเบิกธุรกิจในต่างประเทศเป็นเรื่องที่ยากกว่าการทำธุรกิจในประเทศหลายเท่า สิ่งสำคัญก็คือเรื่องความแตกต่างเฉพาะตัวที่เข้าถึงได้ยาก และเรื่องของอัตราการแลกเปลี่ยนการเงินตรา เพราะ ทางผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถคาดเดาได้ จึงต้องอาศัยทักษะเฉพาะตัวในการช่างสังเกตและพร้อมเรียนรู้เพื่อจะได้ปรับตัวอยู่ตลอดเวลารวมทั้งการเตรียมเอกสารต่างๆให้พร้อมเพื่อการดำเนินการทางธุรกิจในด้านส่งออกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงเท่านี้ธุรกิจการส่งออกของไทยก็จะประสบความสำเร็จได้
สาระน่ารู้เกี่ยวกับธุรกิจการส่งออกสินค้า
ธุรกิจการส่งออกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นธุรกิจที่นำเงินเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ธุรกิจการส่งออกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งการทำธุรกิจการส่งออกในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากขึ้นโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจทำให้สามารถทำการค้ากับต่างประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการควรจะเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
1.การเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนเพราะในการลงทุนทำธุรกิจจะต้องมีความพร้อมในด้านงบประมาณ
การลงทุนและงบประมาณหมุนเวียนโดยเฉพาะในช่วงแรก เพื่อจะได้ดำเนินการได้อย่างเต็มที่การรักษาสมดุลทางการเงินจึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากนี้การทำประกันการซื้อขายสินค้ายังเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ควรมองไว้
2.เลือกผลิตสินค้าที่ตนเองมีความชำนาญ โดยเน้นคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ และอาจจะขอคำแนะปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดรวมทั้งการศึกษาแนวโน้มของตลาดการส่งออก และทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ เนื่องจากความต้องการสินค้าของผู้บริโภคจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
3.ต้องศึกษาคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวทาง วางแผนและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาดเพื่อสร้างความแตกต่าง และ ความโดดเด่น ของสินค้า
4.จะต้องศึกษากฎระเบียบการส่งออกสินค้า ทั้งนี้เพื่อขจัดความยุ่งยากในการทำธุรกิจส่งออก อย่างเช่น อัตราภาษีส่งออกนำเข้า การจำกัดสินค้าส่งออกนำเข้า ใบอนุญาตการนำเข้าสินค้าบางประเภท
5.ด้านบุคลากร โดยการจัดหาพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมกับ ตำแหน่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น และจำนวนของพนักงานก็ควรเพียงพอกับปริมาณงาน เพื่อจะช่วยให้ธุรกิจการส่งออกนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นสิ่งที่นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมที่กล่าวมาแล้วจะต้องมีการใช้ทักษะส่วนตัวเข้ามาช่วยด้วย อย่างการสังเกตเพราะการสังเกตจะช่วยทำให้มีไอเดียดีๆเกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับปรุงได้ นอกจากนี้จะต้องศึกษาและเรียนรู้เพื่อจะได้ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถประสบความสำเร็จในที่สุด
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
ข้าวเป็นอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก
โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่นิยมรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักมากกว่าในภูมิภาคอื่นๆ การผลิต การบริโภค และการค้าข้าวส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ในเอเชีย แต่ข้าวที่ผลิตได้ก็มักจะเป็นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ทำให้มีข้าวเพียงประมาณร้อยละ 6 ของปริมาณการผลิตเท่านั้นที่เข้าสู่ตลาดการค้าข้าวระหว่างประเทศ โดยประเทศที่มีบทบาทมากที่สุดในการส่งออกข้าว คือประเทศไทย รองลงมาคือ อินเดีย เวียดนาม และจีน ตามลำดับ โดยไทยมีการส่งออกข้าวปีละประมาณ 7 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดทั่วโลก
ข้าวไทย
เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องในฐานะผู้ผลิตและส่งออกข้าวหอมมะลิคุณภาพอันดับหนึ่งของโลกต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี และถึงแม้ในระยะหลังข้าวไทยจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านปริมาณการผลิตและราคาของประเทศคู่แข่งสำคัญ แต่ข้าวไทยก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ซึ่งหากพิจารณาตลาดส่งออกข้าวไทยรายภูมิภาคจะพบว่า ตลาดสำคัญยังคงอยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ รวมถึงตะวันออกกลางและแอฟริกา นอกจากนี้ยังกระจายไปในยุโรป อเมริกา และประเทศในแถบแปซิฟิกใต้
ปัจจัยที่ทำให้ข้าวไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปเจาะตลาดต่างๆทั่วโลก คือชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกประกอบกับข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพด้านรสชาติและความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ถูกปากของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ชาวเอเชียซึ่งบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก รวมถึงประเทศที่สามารถปลูกข้าวเองได้แต่ยังมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ อาทิ บังคลาเทศ โอมาน ไนจีเรีย นอกจากนี้ ข้าวไทยยังมีโอกาสสูงในการเจาะตลาดต่างประเทศที่แม้ประชากรส่วนใหญ่จะไม่ได้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ข้าวไทยก็ถือเป็นสินค้า premium สำหรับผู้มีรายได้ดีหรือเป็นที่นิยมในหมู่นักการทูตหรือเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศในประเทศนั้นๆ
ปัจจุบันไทยดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่ประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำจากภาวะข้าวล้นตลาดช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว และป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ให้แก่ชาวนาไม่ให้ต้องขาดทุน นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยังไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่อทำนา ทั้งในรูปแบบส่วนบุคคลหรือนิติบุคคล ในขณะที่ประเทศเวียดนามไม่มีนโยบายด้านราคา แต่มีมาตรการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่ทำนาในประเทศของตน ในปัจจุบันเวียดนามได้มีความพยายามที่จะพัฒนาการผลิตและการเก็บรักษาข้าวให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยมีการการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว
การพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทางธุรกิจภาคการส่งออกของไทย
ธุรกิจภาคการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวที่สูงและรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูง นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็นจำนวนมากในปีหนึ่ง ๆ และรายได้เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำเร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติต่าง ๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อนเนื่องจากขั้นตอนการส่งออกสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออกเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจในการลงทุน
การส่งออกที่ขยายตัวขึ้นย่อมทำให้ผู้ผลิตต้องขยายการผลิตหรือมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่แล้วระบบการผลิตของไทยก็เป็นระบบการผลิตที่ใช้แรงงานในสัดส่วนที่มากกว่าเครื่องจักร ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยในการสร้างความต้องการแรงงานให้แก่ประเทศที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผลต่อการช่วยยกระดับรายได้ของแรงงานด้วยอีกส่วนหนึ่งช่วยในด้านการลดการขาดดุลการค้า และดุลการชำระเงิน เพราะในการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สกุลเงินต่างประเทศในการชำระค่าสินค้า และส่วนมากก็จะเป็นสกุลเงินหลักๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันในตลาดโลก เช่น ดอลล่าร์สหรัฐฯ มารค์เยอรมัน หรือเยน เมื่อส่งสินค้าออกไปแล้วก็จะทำให้ได้เงินตราต่างประเทศเข้ามา และเมื่อจะต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็จะทำให้มีเงินไปชำระค่าสินค้านั้นได้ และเงินตราต่างประเทศที่ได้ก็จะมีส่วนต่อปริมาณเงินสำรองของประเทศอีกด้วยการประกอบธุรกิจส่งออก มีสิ่งที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงเบื้องต้น 6 ประการ ได้แก่ ความพร้อมของผู้ส่งออก สินค้า ตลาด การทำสัญญา การชำระเงิน และพิธีการส่งออก โดยผู้ประกอบที่จะเข้าสู่ธุรกิจส่งออกควรพิจารณาที่ตลาดหรือสินค้าก่อน ส่วนผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิตและมีสินค้าพร้อมอยู่แล้วก็จะพิจารณาในส่วนของการมุ่งหาตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตโดยไม่ต้องพิจารณาเลือกสินค้าอีก แล้วจึงมาพิจารณาเกี่ยวกับการทำสัญญา การชำระเงิน และพิธีการทางศุลกากร
SMEs กับก้าวแรกในการทำธุรกิจการส่งออกสินค้า และบริการ
ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยประกอบด้วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจ ทั้งประเทศ โดยมีการจดทะเบียนเป็นจํานวนมากกว่า 2 ล้านราย ก่อให้เกิดการจ้างงานคิดเป็นร้อยละ 76 ของทั้งหมด และยังช่วยกระจายรายได้ในอีกหลายกลุ่ม ดังนั้น ธุรกิจ SME จึงมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การขยายกิจการเติบโตจนสามารถส่งออกสินค้า ไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้จึงเป็นความฝันของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี Logistics และการสื่อสารที่ก้าวหน้าทําให้การติดต่อหาคู่ค้าจากทั่วทุกมุมโลก เป็นไปได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อยลงกว่าแต่ก่อน ทางภาครัฐก็ริเริ่มโครงการสนับสนุนหลายโครงการ แต่เมื่อพิจารณาตัวเลขปริมาณการส่งออกทั้งหมดของไทยแล้ว มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่เป็นการส่งออกจากภาค SMEs ของไทย ขณะที่การเปิดประชาคมเสรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปีพ.ศ. 2558 นั้นใกล้เข้ามา ทุกฝ่ายต่างคาดหวังว่าการ เปิดนี้จะทําให้เกิดจุดเปลี่ยนครั้งสําคัญที่สามารถสร้างโอกาสการเปิดตลาดสู่ต่างประเทศของผู้ประกอบการ SMEs แต่สถิติและผลสํารวจจากหลายหน่วยงานกลับบ่งชี้ว่า SMEs ไทยยังขาดความพร้อมในภาคการส่งออก ผลสํารวจ ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุว่าในปี พ.ศ. 2555 มีผู้ประกอบการ SMEs เพียงร้อยละ 56 เท่านั้นที่ “พร้อม” ต่อการทําธุรกิจในตลาด AEC ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้านั้น
ธุรกิจ SMEs ของไทยจํานวนมากมีสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องในการตลาดต่างประเทศและยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ตัวผู้ประกอบการต่างหากที่ไม่กล้าเสี่ยง และคิดว่าธุรกิจของตนยังไม่พร้อมส่งออก คุณศุภรายังกล่าวอีกว่า ความคิดเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการขาดข้อมูลของตลาดเป้าหมาย อีกส่วนจากทัศนคติในแง่ลบ ว่าการส่งออกนั้นมีขั้นตอนซับซ้อนและจําเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์จํานวนมาก แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถพบคําตอบของประเด็นเหล่านี้ได้ และขั้นตอนการส่งสินค้าไปในตลาดต่างประเทศก็ไม่ซับซ้อนเหมือนเมื่อก่อน โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน เพียงแค่มีการคิดเชิงวิเคราะห์และหาข้อมูลวางแผนอย่างมีขั้นตอนประกอบด้วยเท่านั้น
ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นด้วยการตั้งโจทย์เล็ก ๆ ให้แก่ธุรกิจของตนเองทีละด้าน เช่น การหาจุดแข็ง (strength) ของสินค้าตัวเอง หาตลาดเป้าหมาย (target market) เพื่อการนําเสนอขายสินค้าและบริการให้ตรงกลุ่มลูกค้า จากนั้นจึงทําแผนการตลาดโฆษณาผลิตภัณฑ์ และสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก